วันพุธที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

รวมกระบวนท่าการตลาดโซเชียลภาคร้านอาหาร

ใคร
มีร้านอาหารแล้วไม่อ่านบทความนี้ขอบอกว่าจะเสียดาย เพราะ "สมชาติ ลีลาไกรศร" สาธยายนานากระบวนท่าที่ร้านอาหารในยุคโซเชียลเน็ตเวิร์กไม่อาจมองข้าไปได้ เรียกว่าครบถ้วนจุใจเหมาะสำหรับมือใหม่หัดโปรโมทเป็นอย่างยิ่ง

***ติดอาวุธไอทีให้ร้านอาหารดูน่ากิน (เกินห้าใจ)

เรื่องโดย สมชาติ ลีลาไกรศร @somchartlee

สปาเก็ตตี้กุ้งแม่น้ำตัวโต พาร์มาแฮมพิซซ่าโรยชีสเยิ้มๆ ซูชิหน้าปลาโอเนื้อนุ่มๆ อ่อส่วนระทะร้านหอยนางรมตัวใหญ่ หรือจะเป็นช็อกโกแลตลาวาที่น้ำแตกละลายในปาก ถ้าพูดต่อไปคงน้ำลายสอทั้งคนเขียนและคนอ่าแน่ๆ

เรื่องอาหารการกินเป็นเรื่องที่ไม่เคยขาดจากปากคนไทย โดยเฉพาะคนในยุคนี้ เข้าร้านอาหารทีไร เป็นต้อง แชะ..แชะ..แชะ "เดี๋ยวก่อนนะอย่าเพิ่งกิน ขอฉันถ่ายรูปโพสต์ลง Facebook ก่อนนะ" ธรรมเนียมปฏิบัตินี้แม้จะทำให้คนร่วมโต๊ะดูหมดอารมณ์ไปชั่วขณะ แต่กลับทำให้เพื่อนๆ ในสังคม Social Network นั้นต่าเข้ามาคอมเม้นต์กันตรึมด้วยความอิจฉา นี่แหละคือความสุขของคนชอบยั่วคนอื่นให้เกิดอารมณ์อยาก

ประสบการณ์ที่ว่านี้เป็นแค่เสี้ยวนึงของวัฒนธรรมการกินของคนไทยที่เปลี่ยนไป จากการแนะนำด้วยปากต่อปาก หรือจากการดูป้าโฆษณาหน้าร้ากลายเป็นเราเชื่อรูปและคอมเมนต์ที่เพื่อนถ่ายมาจากกล้องมือถือ หรือไม่เราก็ใช่อินเทอร์เน็ตหรือสมาร์โฟนในการหาร้านอาหารที่ถูกใจผ่าเว็บเบราเซอร์ เมื่อการโฆษณาประชาสัมพันธ์ในโลก 1.0 กำลังเสื่อมถอยลง เราคงต้องมารู้จักวิธีใช้เครื่องมือสื่อสารโลกดิจิตอล 2.0 ให้คุ้นเคยมากขึ้น

เทคนิกที่กำลังจะกล่าวถึงนี้เป็นเรื่องที่ทุกคนทำได้ไม่ยาก แต่ถ้าจะทำให้ถึงขึ้นสร้างปรากฎการณ์บนโลกออนไลน์ล่ะก็ มันเป็นเทคนิคเฉพาะตัวที่ผู้ประกอบการร้านอาหารต้องพลิกแพลงให้ถูกโฉลกกับประเภทธุรกิจของตนเอง

จำเป็นแค่ไหนที่ต้องมีเว็บไซต์ของร้า

การกระโดดเข้ามาสร้างหน้าร้านบนโลกออนไลน์ถือเป็นการแสดงความตั้งใจอย่างหนึ่งที่จะแจ้งเกิดให้สังคมออนไลน์รู้จักคุณ อย่าเพียงแค่จดโดเมนเนม (ซึ่งปัจจุบันทำได้ง่ายมาก) แล้วสร้าเว็บแห้ง ไปแปะไว้บนหน้าจอ เมื่อริจะมีเว็บแล้ว ข้อมูลการติดต่อสื่อสารจะต้องชัดเจน สถานที่ตั้งอยู่ที่ไหน เดินทางไปยังไง สามารถโทรจองโต๊ะล่วงหน้าได้หรือไม่ มีการพรีวิวให้ดูเมนูเด็ดในร้าเพื่อเรียกน้ำย่อยรึเปล่า

ยิ่งถ้าคุณสามารถมอบสิทธิพิเศษโดยการชักจูงให้ลูกค้าบันทึกข้อมูลส่วนตัวเพื่อใช้ในการติดต่อในอนาคต ถือว่าคุณมีโอกาสสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้ากลุ่มเป้าหมายไปด้วยในตัว

ข้อดีของการมีเว็บเป็นของตัวเองคือ เมื่อคุณลงโฆษณา ประชาสัมพันธ์ไม่ว่าจะผ่านสื่อใด คุณสามารถลิงค์ข้อมูลกลับมาที่เว็บไซต์ของคุณได้เสมแต่ทว่าถ้าคุณคิดว่าคุณทำเว็บขึ้นมาครั้งเดียว แล้วจะไม่แตะมันอีกเลย จงอย่าทำเลยครับ เพราะนอกจากเสียสตางค์โดยใช่เหตุแล้ว มันจะกลายเป็นที่อยู่อาศัยรกร้างที่ไม่ได้รับการเยี่ยมชมในที่สุด

สำหรับคนที่สนใจแต่ไม่รู้จะเริ่มอย่าไร ให้ติดต่อที่ "โครงการธุรกิจไทย go online" ซึ่งกำลังจะเปิดตัวโครงการในเร็ววันนี้บนความร่วมมือจาก สสว. และ สมาคมอิเล็กทรอนิกส์แห่งประเทศไทย

ติดเครื่องมือเสริมบารมีให้เว็บตัวเอง

ต่อจากหัวข้อที่แล้ว ถ้าคุณมีเว็บแล้วไม่อยากให้เว็บนั้นเป็นการสื่อสารเพียงข้าเดียว คุณควรจะหาเครื่องมือต่างๆ มาช่วยในการบริหารเว็บให้สามารถทำการติดต่อสื่อสารกับโลกภายนอก และสามารถบริหารจัดการข้อมูลได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เครื่องมือที่ว่านี้มีตั้งแต่ การมีอีเมล์ หรือกล่องบันทึกข้อความให้ลูกค้าสามารถติดต่อร้านค้าได้ การใช้ Google Maps ในการระบุสถานที่ร้านซึ่งค้นหาได้ด้วยการระบุพิกัดตำแหน่งของร้าการซื้อโฆษณา Adwords หรือการทำ SEO (Search Engine Optimization) เพื่อทำให้เว็บของคุณติดอันดับในการค้นหาชื่อบน Google ตลอดจนการใช้เครื่องมือ Analytics ต่างๆ เพื่อวิเคราะห์สถิติการเข้าชมและเช็คผลการทำการตลาดบนเว็บไซต์ของคุณ

ถ้าคุณเป็นประเภทมือใหม่หัดขับจากรู้จักเครื่องมือต่างๆ เกี่ยวกับการทำ e-marketing, e-commerce บนเว็บไซต์ ผมแนะนำให้ลองอ่านบทความของคุณป้อม ภาวุธ ได้ที่ (http://www.pawoot.com)

ปรากฎตัวอย่าเท่บนสังคมออนไลน์

ใคร ก็เล่น Facebook และ Twitter กัน และล่าสุดเพิ่งเปิดตัวน้องใหม่ Google + ซึ่งเตรียมฉลองสมาชิกครบ 10 ล้านรายทั่วโลก (เป็นประเทศหนึงย่อมๆ เลยนะเนี่ย) จุดนี้คงไม่ต้องสาธยายกันยืดยาวว่าสมัครยังไง เล่นกันยังไง แต่ขอแนะจุดบอดเพิ่มเติมสำหรับร้านอาหารที่สร้างตัวตนขึ้นมาไม่ว่าจะเป็นแบบ Group หรือเป็นแบบ Fan Page บน Facebook ก็ตา จริง แล้วการสร้าให้คนมาคลิ๊ก "Like" ให้เรานับว่ายากแล้ว แต่การทำให้คนที่เป็นสมาชิกกลับมาคอมเมนต์หรือปฏิสัมพันธ์กับแบรนด์เรานั้นยากยิ่งกว่า

ข้อพึงระวังสำหรับการสร้าPage ขึ้นมาแล้วพูดแต่เรื่องของอาหารและโปรโมชั่นของร้านตัวเองคือมันทำให้เราดูเป็นคนน่าเบื่อ ถ้าเป็นไปได้ต้องพยายามโพสต์ภาพ ข้อมูล ที่เกี่ยวกับเรื่องอื่นบ้างที่เกี่ยวข้องกับไลฟสไตล์ของกลุ่มเป้าหมาย บางครั้งอาจจะเล่นเกมส์ และชักจูงให้สมาชิกนั้นเป็นคนโพสต์ภาพที่เขาถ่าเองจากร้าเข้ามาด้วย ซึ่งจะทำให้คนที่เห็นภาพนั้นไม่ใช่เราและเขา แต่จะเป็นทั้งเพื่อนเราและเพื่อนเขาด้วย

ถ้าจะยกตัวอย่างที่เป็นรูปธรรมขึ้นมานิดนึง ให้คุณลองตา @jehjong @iczz บนทวิตเตอร์ดู แล้วคุณจะรู้ว่าการคุยเนียนๆ กับเจ๊จงหมูทอด และน้องไอซ์ JMCuisine เขาใช้เทคนิคอะไรในการพูดคุยกับคนใน Social Network ให้ดูมีเสน่ห์และไม่ Hard-Sell จนเกินไป

หลักเบื้องต้นของการโปรโมทร้านผ่าเครื่องมือสองอย่างนี้คือ ถ้าเล่น Facebook ต้องพยายามกระตุ้นให้สมาชิกนั้นเล่นด้วย ไม่จำเป็นต้องทุกวัน แต่ต้องจัดหนักในแต่ละครั้งเพื่อเรียกเสียคอมเมนต์ยาว แต่ถ้าคุณเล่น Twitter คุณจะเงียบหายไปเฉยๆ ไม่ได้ โดยเฉลี่ยแล้วควรจะทวิตประมาณ 4-5 ครั้งต่อชั่วโมง เวลาที่ดีที่สุดในการทวิตคือช่วงเที่ยงตอนคนตัดสินใจไม่ได้ว่าจะกินอะไร และเวลาเย็นหลังเลิกงานประมาณ 6 โมงเย็นถือว่าเป็นช่วงเวลาทองเลยทีเดียว

ที่สำคัญอย่าทวิตซี้ซัว ต้องสร้างตัวตนให้ชัดเจนว่าเราเป็นคนอย่าไร อารมณ์ขัน คมลึก รอบรู้ เลือกซักแนว อย่าให้คนในร้านสลับกันทวิต จนไม่แน่ใจคนที่เราคุยด้วยเป็นผู้หญิง ผู้ชาย หรือผู้ฉิง กันแน่

ควรจะมี VDO ประจำร้านตัวเองหรือไม่

เดี๋ยวนี้มีวีดีโออัปโหลดขึ้นบน YouTube อยู่มากมาย ทั้งหนัง ละคร มิวสิควีดีโอ หนังโฆษณา คลิปโปรโมทตัวเอง ลฯ แต่คุณเชื่อหรือไม่คลิปที่คนดูมากที่สุด ไม่ใช่คลิปสวยงามหรือสนุกสนานธรรมดา แต่มันต้องแปลกตาหลุโลก ตลกจนน้ำหูน้ำตาไหล หรืออึ้งชื่นชมแบบสุด เพราะฉะนั้นถ้าคุณคิดที่จะทำ VDO แนะนำร้าแบบบ้านๆ สู้ไปตัดต่อคลิปที่คุณเคยไปให้สัมภาษณ์ในรายการทีวี หรือการประมวลภาพเรื่องราวประทับใจที่เกิดขึ้นในร้านจริง ยังจะดีซะกว่า

ที่สำคัญอย่าลืมติtag ชื่อร้าแล้วแชร์ให้กับคนที่อยู่ในเหตุการณ์นั้นจริง เพราะเขามีโอกาสที่แชร์ VDO นั้นต่อไปในเครือข่ายสังคมออนไลน์ของเขาด้วย เรียกได้ว่าทำทีเดียวได้ทั้งสองทางเลย คือโปรโมทร้าไปพร้อมๆ กับการแบ่งปันประสบการณ์ของลูกค้าประจำให้ลูกค้าขาจรดูด้วย

โชว์แบรนด์โชว์เบอร์ หาร้านยังไงให้เจอบนเว็บและมือถือ

ในยุคที่ iphone, ipad, galaxy tab, android กำลังครองโลก ท่าเจ้าของร้าไม่ควรตกเทรนด์ พาตัวเองเข้าไปเอี่ยวบนเว็บที่มีฟังก์ชั่นในการค้นหาร้านอาหาร ตาเขตหรือย่านของสถานที่ตั้งร้าประเภทของอาหาร หรือราคา เว็บต่างๆ เหล่านี้ล้วนมีสมาชิกเป็นของตัวเอง บางเว็บไม่ได้แค่มีเว็บไซต์แต่เขาลิงค์หน้าเว็บพ่วงไปกับ Web Blob, Facebook และ Twitter ด้วย การเอาตัวเองเข้าไปอยู่ในลิสต์ข้อมูลของเขาก็เท่ากับเป็นการเพิ่มโอกาสที่ร้านของคุณจะถูกค้นหาเจอได้มากกว่าการมีเว็บไซต์เป็นของตัวเองแบบโดด

ตัวอย่างของเว็บที่ผมใช้งานบ่อยๆ เช่น

BKK Menu (http://www.bkkmenu.com)

EDT Guide (http://www.edtguide.com)

Aroys (http://www.aroys.com/th)

GinDee, (http://www.gindee.com/?lang=TH)

MC Groovy Club (http://www.mcgroovyclub.com/)

ChuanChim (http://www.pantip.com/cafe/chuanchim/bkk/map_bkk.php)

Bangkok Post Restaurant (http://www.bangkokpost.com/food/restaurant)

และ Tatler Review (http://www.bangkok.com/tatler/)

ล่าสุด ผมเพิ่งจะรู้จักเว็บใหม่ล่าสุดในงาน Restaurant & Bar ที่พัฒนาเป็น Application บน App Store ให้คุณสามารถโหลดและสมัครได้ฟรีคือ Wongnai เขาพัฒนาเมนูให้คุณสามารถเลือกร้านอาหารได้เป็นรายจังหวัด ประเภท สมาชิกสามารถเข้าไปเขียนรีวิวอาหารได้ตาอัธยาศัย นอกจากนี้ยังมีการรวบรวมบทความให้คนติดตาอ่าได้จากสนุกปาก เช่น "เปิดแหล่งยอดฮิตสุดเจิดแห่งปี", "3 ร้านช็อกโกแล๊ตดัง อร่อยหวานกลางกรุง", "สุดยอดร้านข้าวมันไก่" เป็นต้น เรียกว่าอ่าแล้วหิวเลย

ข้อดีของแอปนี้คือเขาระบุรายละเอียดของร้านค้าไว้ค่อนข้างครบ คือมีรูปถ่ายร้าเมนูจานเด็ด สถานที่ตั้งพร้อมระบุพิกัด เบอร์โทรติดต่อพร้อมเว็บไซต์(ถ้ามี) ข้อมูลอื่นๆ ประกอบการตัดสินใจเช่น มีที่จอดรถรึเปล่า ร้านค้ารับบัตรหรือไม่ เปิดกี่โมงถึงกี่โมง ระดับราคาของอาหาร ถูก แพง หรือแพงม้ากมาก

รู้อย่างนี้แล้วใครเป็นเจ้าของร้านอาหาร คงนิ่งเฉยไม่ได้ ต้องพยายามหาทางทำกิจกรรม มอบส่วนลดพิเศษเพื่อดึงดูดสมาชิกเข้าร้าให้ได้ โดยเฉพาะถ้ารู้ว่ามีคนเล่น FourSquare ขอเป็นเมเยอร์ร้านของเราด้วย ยิ่งต้องจัดหนักเพื่อให้เขามีแรงจูงใจในการเชียร์ร้าเราเป็นพิเศษ เพราะถ้ามีคนเข้ามาทานในร้านของเราแล้วโพสต์รูปถ่าและคอมเมนต์ต่อ กันไปมากขึ้นเท่าไหร่ โอกาสที่ร้านอาหารของคุณจะติดลมบนได้อย่างรวดเร็วก็จะมีมากขึ้นเท่านั้น

ดูอย่าShibuya Toast ของ After You แค่เห็นภาพก็รู้ได้ในทันทีว่าขนมชิ้นนี้ท่าได้แต่ใดมา อย่าลืมนะครับยุคนี้ผู้บริโภคเป็นใหญ่ ความสะดวกในการค้นหาข้อมูลจากโทรศัพท์มือถือถือเป็นเรื่องจำเป็นมากๆ เลยทีเดียว

เกาะกระแสคนดัง ผ่านพันธมิตรต่างๆ

การโฆษณาประชาสัมพันธ์ร้านอาหารด้วยงบตัวเองล้วน บางทีมันก็แพงเอาการเหมือนกัน แถมบางครั้งยังวัดผลไม่ได้ด้วย ทางลัดอีกทางหนึ่งคือการพึ่งพาอาศัยผู้อื่นในการนำพาแบรนด์ของเราไปใกล้ลูกค้านักชิมตัวยงทั้งหลาย ถ้าคุณเคยสังเกต ในหนังสือพิมพ์ หรือนิตยสารที่มีคอลัมน์เกี่ยวกับการกิน ดื่ม เที่ยว ช้อป จะมีนักเขียนทั้งหน้าใหม่และเก่าประดับวงการจะคอยตระเวนหาร้านอาหารเพื่อทำการรีวิว ถ้าคุณสามารถสร้างความน่าสนใจของร้าไม่ว่าจะเป็นรูปแบบการตกแต่งร้าเมนูอาหารที่น่าลิ้มลองชวนฝัน จนใครมาเห็นเข้าก็อยากจะเขียนรีวิวให้ฟรีแบบออกนอกหน้า อันนี้ก็ถือว่าโชคดีไปเพราะไม่ต้องทำอะไรมาก เดี๋ยวสื่อต่างๆ อาจจะวิ่งเข้ามาหาเอง

นักชิมที่ผมติดตาเป็นประจำคือ ม.ล. ภาสันต์ สวัสดิวัฒน์ ซึ่งคุณสามารถติดตาพี่อิ้งได้ที่ @CitiDiningGuru หรือที่ (http://changchuanchim.com) อีกท่าเป็นดีไซเนอร์ผู้ถนัดการออกแบบเมนูอาหาร คือ คุณสุทธิพงษ์ สุริยะ ติดตาคุณผลงานของคุณขาบได้ที่ (http://www.karbstyle.com/)

แต่ถ้าคุณยังไม่เป็นที่รู้จักดีพอ อีกวิธีที่ช่วยได้คือการพยายามทำโปรโมชั่นร่วมกับบัตรเครดิตยี่ห้อต่างๆ ของธนาคารพาณิชย์ เพราะเขาจะมีการส่งวารสารแนะนำสิทธิประโยชน์ไปพร้อมกับใบ statement บัตรเครดิต ไปยังฐานสมาชิกลูกค้าของเขาที่มีกว่าล้านรายทั่วประเทศอยู่แล้ว ข้อคิดอย่างหนึ่งสำหรับผู้ประกอบการที่ใจไม่ถึง มอบส่วนลดได้แค่ 10-15% ที่ใคร ก็ทำกัน คูปองของคุณจะจมลงไปแทบไม่เห็นฝุ่นเลย

แต่ถ้าคุณใจป้ำมอบส่วนลดสูงสุดเป็นแคมเปญบางช่วงได้ถึง 50% หรือจะจัดเต็มเป็นบุฟเฟต์ แบบกิน 2 จ่า1 กิน 4 จ่า3 โปรโมชั่นประมาณนี้จะถูกพูดถึงเยอะกว่าการลดราคาแบบจิ๊บ นี่จึงเป็นที่มาว่าคูปองส่วนลดแบบ Ensogo (http://www.ensogo.com) หรือ Dealicious (http://dealicious.co/bangkok_th/) ที่ลดสะบั้นหั่นแหลกจึงถูกใจพี่ไทยนักหนา

ที่เล่ามาทั้งหมดนี้ก็ถือเป็นสารพันเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยที่นำมาเล่าสู่กันฟัง ในฐานะที่ตัวเองก็เป็นคนชอบชิมและเขียนรีวิวอาหารอยู่เป็นเนืองๆ สิ่งที่สังเกตเห็นก็คือมุมมองของผู้บริโภคที่เรื่องมาก และความคิดสร้างสรรค์ของผู้ประกอบการที่พยายามจะใช้เครื่องมือทางไอทีมาช่วยในการบริหารธุรกิจให้คล่องตัว และสามารถเข้าถึงใจลูกค้าได้มากขึ้น

ขอให้ผู้ประกอบการทุกท่านมีความสุขในการปรุงอาหารรสเด็ดให้พวกเราได้อร่อยและชิมกันอย่างม่วนหลายไปตลอดครับ

ที่มา : http://i.manager.co.th/s1000_obj/front_page/page/1571.asp?news_id=797949&pagetype=7

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น